A-Level 88 Pali ภาษาบาลี คืออะไร?
A-Level ย่อมาจาก Applied Knowledge Level เป็นการสอบที่ปรับเปลี่ยนมาจากข้อสอบ “วิชาสามัญ” และ “PAT” บางวิชา A-Level มีด้วยกันทั้งหมด 10 วิชา หนึ่งในนั้นคือวิชาภาษาต่างประเทศ ในวิชาภาษาต่างประเทศยังแบ่งออกเป็น 6 วิชา คือ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาจีน และภาษาบาลี ทั้งนี้วิชาภาษาต่างประเทศจะเลือกสอบได้เพียงภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้น
วิชา A-Level 88 Pali ภาษาบาลีที่จะใช้สอบในระบบ TCAS ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป เป็นข้อสอบประเภทปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ใช้เวลาสอบ 90 นาที น้อง ๆ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อสอบได้ที่เว็บไซต์ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)โครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ Blueprint
A-Level 88 Pali ภาษาบาลี ใช้ยื่นคณะใดได้บ้าง?
เนื่องจากข้อสอบ A-Level เป็นวิชาที่จัดสอบขึ้นใหม่ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป ดังนั้นในแต่ละมหาวิทยาลัยจึงยังไม่ได้ประกาศเกณฑ์การรับสมัครออกมาอย่างเป็นทางการ ข้อมูลเรื่องการใช้วิชา A-Level ภาษาบาลีจึงต้องใช้การเทียบเคียงจากปีก่อน ๆ โดยดูจากคณะต่าง ๆ ที่เปิดรับสมัครด้วยวิชา PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลีหรือแพทบาลี ทั้งนี้น้อง ๆ ควรติดตามประกาศอย่างเป็นทางการจากแต่ละมหาวิทยาลัยต่อไป
คณะและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่สามารถใช้วิชา PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลีหรือแพทบาลีสมัครได้ (ข้อมูลจากปี 2565) เช่น
- คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ทำไมจึงควรเลือกเรียนภาษาบาลี?
ข้อสอบ A-Level ในส่วนของวิชาภาษาต่างประเทศน้อง ๆ มีสิทธิ์เลือกสอบเพียงภาษาเดียวเท่านั้น จึงเกิดคำถามว่าควรจะเลือกภาษาไหน เพราะบางคณะอย่างเช่นคณะอักษรศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถเลือกสอบภาษาใดก็ได้ หลายคนมักเข้าใจผิดว่าหากสอบวิชาที่คนสมัครน้อยก็จะมีโอกาสสอบติดมากว่า ที่จริงแล้วระบบจะประมวลผลทั้ง 6 ภาษาเป็นวิชาภาษาต่างประเทศเหมือนกันแต่เวลาประกาศผลจะแยกกันตามแต่ละภาษา ดังนั้นหากน้อง ๆ เลือกสอบวิชาภาษาที่เหมาะสมและถนัดมากที่สุดก็จะทำให้ได้คะแนนที่สูงในรายวิชานี้
สำหรับ A-Level 88 Pali ภาษาบาลี เป็นภาษาที่หลายคนไม่ค่อยรู้จักเนื่องจากมักเข้าใจว่าเป็นภาษามีอยู่แต่ในเฉพาะแวดวงพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วภาษาบาลีมีความสัมพันธ์กับภาษาไทยมาอย่างยาวนานและลึกซึ้ง ทำให้น้อง ๆ เรียนรู้คำศัพท์หลายคำได้อย่างรวดเร็ว เช่น โลโก แปลว่า โลก ภาสา แปลว่า ภาษา เป็นต้น อีกทั้งวิชาภาษาบาลีเป็นวิชาภาษาต่างประเทศเพียงภาษาเดียวที่โจทย์เป็นภาษาไทย และตัวอักษรที่เขียนภาษาบาลีก็เป็นตัวอักษรไทย เพราะฉะนั้นที่ผ่านมาภาษาบาลีจึงเป็นวิชาที่น้อง ๆ สายวิทย์มักเลือกสอบ เพราะสามารถเริ่มต้นเรียนได้รวดเร็วและได้คะแนนสูงไม่ต่างไปจากเพื่อน ๆ ที่เรียนภาษาอื่น ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าภาษาบาลีจะง่ายไปกว่าภาษาอื่น เพราะก็เป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่ซับซ้อนและแตกต่างไปจากภาษาไทย น้อง ๆ จำเป็นจะต้องศึกษาเพิ่มเติมให้มากกว่าที่เคยเรียนมาแล้วในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจึงจะมีความรู้เพียงพอต่อการสอบวิชา A-Level 88 Pali ภาษาบาลี
คอร์สเรียน A-Level 88 Pali ภาษาบาลี
วิชาภาษาบาลีของดาว้องก์ทุกคอร์ส สอนโดยพี่มอลลี่ อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกวิชาภาษาไทย โทวิชาภาษาบาลี-สันสกฤต
คอร์สเรียนวิชาภาษาบาลีมีทั้งหมด 4 คอร์ส
Intensive Palibhasa ระบบออนไลน์ เรียนผ่านระบบ PC PLUS เรียนทั้งที่บ้านและสาขา
สมัครเรียนระบบออนไลน์
หากยังไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นยังไง Click-->
Turbo Palibhasa ระบบออนไลน์ เรียนผ่านระบบ PC PLUS เรียนทั้งที่บ้านและสาขา
สมัครเรียนระบบออนไลน์
หากยังไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นยังไง Click-->
Prime Palibhasa
The Secret Palibhasa
หนังสือแนวข้อสอบ
หนังสือแนวข้อสอบ PAT 7.6 ภาษาบาลี เป็นหนังสือที่พี่มอลลี่ได้ออกและเฉลยข้อสอบด้วยตนเองกว่า 300 ข้อ เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการฝึกฝนการวิเคราะห์ข้อสอบภาษาบาลี และใช้เป็นแนวทางการสอบวิชา A-Level 88 Pali ภาษาบาลี ได้ด้วย
น้อง ๆ จากคอร์สภาษาบาลีดาว้องก์ ปี 2567
คำถามที่พบบ่อย
Q : หากไม่มีพื้นฐานมาก่อนจะเรียนได้ไหม/จะต้องเรียนคอร์สไหน
A : หากไม่มีพื้นฐานมาก่อนแนะนำให้เรียนคอร์ส Intensive Palibhasa คอร์สนี้พี่มอลลี่จะสอนตั้งแต่การอ่านภาษาบาลีไปจนถึงไวยากรณ์ทั้งหมดที่จะใช้สอบ หากน้อง ๆ ไม่มีพื้นฐานพอไม่แนะนำให้ลงคอร์ส Turbo Palibhasa เพราะเป็นคอร์สตะลุยโจทย์และไวยากรณ์ขั้นสูง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีพื้นฐานมาจากคอร์ส Intensive Palibhasa ก่อนจึงจะเรียนได้อย่างได้ผล
Q : ต้องเรียนคอร์สไหนบ้างถึงจะทำข้อสอบได้
A : แนะนำให้เรียนคอร์ส Intensive Palibhasa และ Turbo Palibhasa คู่กัน เพราะคอร์ส Intensive Palibhasa จะทำให้น้อง ๆ เข้าใจไวยากรณ์พื้นฐานในภาษาบาลีและมักออกข้อสอบ ส่วนคอร์ส Turbo Palibhasa น้อง ๆ จะได้ฝึกวิเคราะห์ทำโจทย์และเรียนรู้ไวยากรณ์ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
Q : ควรเริ่มเรียนตอน ม.อะไร และเมื่อไหร่
A : ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดของการเรียนภาษาบาลีคือ 6 เดือนก่อนที่จะถึงวันสอบ ดังนั้นจึงควรเรียนตอน ม.6 เทอม 1 หรือ เทอม 2 ก็ได้ หรืออาจจะเรียนตอน ม.5 เทอม 2 ก็ได้ แต่ไม่ควรเรียนก่อนนานเกินไปเพราะกว่าจะถึงวันสอบอาจลืมเนื้อหาได้