บทสัมภาษณ์ที่ 1 ประเทศ วิชาภาษาไทย เคลียริ่งเฮาส์ ปี 2555
 19 กรกฎาคม 2562 16:44:17

DAVANCE INTERVIEW

ฝ้าย : อักษิภรณ์ อินทรักษา
(ที่ 1 ประเทศวิชาภาษาไทยเคลียริ่งเฮาส์ปี 2555)

ฝ้าย1

 

พี่แอนน์ : แนะนำตัวหน่อยค่ะ 
ฝ้าย : ชื่อ อักษิภรณ์ อินทรักษา ชื่อเล่น ฝ้าย เรียนอยู่โรงเรียนสุรนารีวิทยา นครราชสีมาค่ะ ^^ 

พี่แอนน์ : คิดอย่างไรที่ได้คะแนนยอดเยี่ยม 
ฝ้าย : ตอนแรกที่เห็นก็อึ้ง แล้วก็ตะลึง ช็อกไปทั้งวันเลยค่ะ แต่ในใจลึกๆ ก็ประมาณว่า นี่เราทำเองหรอเนี่ย ทำได้ขนาดนี้เลยหรือ ...ก็เก่งใช่ย่อยนะเรา >< (แอบอายตัวเองเหมือนกัน ฮ่าๆๆ) 

พี่แอนน์ : ตอนสอบคาดหวังบ้างไหม 
ฝ้าย : ไม่ค่ะ ... ไม่คิดเลย คิดแค่ว่าขอให้หนูผ่านแค่ครึ่งก็เป็นบุญอันล้นพ้นแล้วค่ะ -/\-
ฝ้าย2 ฝ้าย3
พี่แอนน์ : กับผลที่ออกมาพอใจมากน้อยแค่ไหน 
ฝ้าย : โห... พอใจมากคะ แม้ว่าวิชาอื่นจะดูหนักไปสักหน่อย แต่สำหรับภาษาไทยแล้ว ยอมรับว่าพอใจมากจริงๆค่ะ ^^ 

พี่แอนน์ : มีการเตรียมตัวหรือวางแผนอย่างไรในการสอบบ้างคะ แล้วเตรียมตัวมานานรึยัง 
ฝ้าย : ก็...ก่อนอื่นต้องขอสารภาพว่า ตอนสอบ 7 วิชาหลัก ไม่ได้อ่านหนังสือไปสอบเลย คือภาษาไทย อ่านแค่มินิไทยบุ๊คของอาจารย์ปิงตอนนั่งรถไปสอบ แต่ว่าก่อนหน้าที่จะสอบโควตาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและแกท/แพทรอบธันวาคม ได้ขนหนังสือของอาจารย์ปิงมาตั้งแล้วมุ่งมั่นอ่านแบบดับเครื่องชนสุดๆ ประมาณว่าข้อไหนที่ตอบผิดต้องรู้ว่าผิดเพราะอะไร เราวิเคราะห์ผิดยังไง เราควรปรับการวิเคราะห์ของเราตรงไหน เราเคยเรียนรู้มาก่อนมั๊ยประมาณนี้ค่ะ แต่ขอบอกว่าถ้าอ่านหนังสือไม่ทัน ให้ทำข้อสอบสามารถช่วยได้เยอะมากจริงๆ ค่ะ เพราะข้อสอบภาษาไทยส่วนใหญ่เป็นแนววิเคราะห์มากกว่าแนวท่องจำอยู่แล้ว 

พี่แอนน์ : อะไรคือสิ่งที่ยากที่สุดในการสอบคะ 
ฝ้าย : การวิเคราะห์ข้อสอบและข้อจำกัดของเวลาค่ะ ^^ เพราะว่าถ้าเราวิเคราะห์ได้ แต่ทำไม่ทันเวลา หรือว่า ทันเวลาแต่วิเคราะห์ไม่ได้ เราย่อมเสียคะแนนทั้งนั้นค่ะ 

พี่แอนน์ : ข้อสอบของเคลียริ่งเฮาส์เป็นอย่างไรบ้าง 
ฝ้าย : ในความคิดของหนูนะคะ ... กลางๆ ค่อนไปทางยาก .. เพราะว่าบางข้อมีช้อยส์แบบกำกวม แบบงงๆ ให้เราอ่านโจทย์มึนๆ สักสองรอบ แล้วก็มามึนๆ กับช้อยส์อีกสักสองรอบ ให้เรางงเล่นๆ แล้วข้อสอบแนววิเคราะห์ทั้งการใช้โวหาร การบอกจุดประสงค์ ความรู้สึกของผู้เขียน ซึ่งหนูคิดว่าออกข้อสอบแบบนี้แหละค่ะ ที่ทำให้เสียคะแนนไปไม่น้อยทีเดียว (แค่วิเคราะห์ผิดก็ตอบผิดแล้วค่ะ)

ฝ้าย4
พี่แอนน์ 
: มีความเครียดกับข้อสอบบ้างไหม 

ฝ้าย : ก่อนสอบไม่เครียดเลยค่ะ (เพราะไม่ได้อ่าน) แต่พอมานั่งทำข้อสอบถึงกับกุมขมับแล้วจะหลับไปหลายรอบ คือเวลาเราได้มานั่งทำข้อสอบสิ่งหนึ่งที่เราตระหนักได้คือ ถ้ามีข้อสอบอยู่ตรงหน้าอย่างน้อยอยากให้คิดให้วิเคราะห์สักหน่อย เผื่อว่าความรู้ที่เราพอมีอยู่อาจช่วยให้เราคะแนนดีขึ้นสัก 5 คะแนน แค่เพิ่ม 5 คะแนนก็สามารถทำให้เราสอบติดในที่ที่เราอยากเข้าได้เลยนะคะ มันมีความหมายมาก 

พี่แอนน์ : วิชาที่ได้คะแนนดีที่สุดในการสอบเคลียริ่งเฮาส์คือวิชาอะไร 
ฝ้าย : คำตอบก็ต้องเป็น “ภาษาไทย” อยู่แล้วค่ะ ^^ 

พี่แอนน์ : แล้วถนัดวิชาอะไรที่สุด 
ฝ้าย : น่าจะเป็นภาษาไทย นี่แหละค่ะ คือเป็นวิชาเดียวที่อ่านโจทย์แล้วรู้เรื่อง >< 

พี่แอนน์ : เนื้อหาวิชาภาษาไทยส่วนไหนยากสุดแล้วส่วนไหนง่าย 
ฝ้าย : เนื้อหาภาษาไทยยากที่สุดขอยกให้หลักภาษาไปเลยค่ะ(ในทุกๆ เรื่องไม่ว่าจะเป็นการสร้างคำ จนถึงคำราชาศัพท์) นอกจากต้องท่องจำแล้ว ตอนสอบยังต้องอ่านโจทย์ให้เข้าใจด้วยหลักการเยอะ ถ้าไม่ได้อาจารย์ปิงช่วยไว้ หนูคิดว่าหนูคงไม่รอดค่ะ >< ส่วนเนื้อหาที่ง่ายสำหรับหนูเป็นวรรณคดีค่ะ เพราะปกติเป็นคนชอบอ่านนิยายอยู่แล้ว เวลาเรียนวรรณคดีจึงคิดภาพไปด้วยจำเป็นภาพเอาค่ะ ^^ แล้วยิ่งมาเรียนกับอาจารย์ปิงแล้ว วรรณดคีที่ว่าน่าเบื่อก็กลายเป็นเรื่องสนุกขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อเลยค่ะ 

พี่แอนน์ : แล้วข้อสอบโอเน็ตของปีนี้เป็นอย่างไรบ้าง 
ฝ้าย : ในความคิดหนูนะคะ ถ้าเทียบกับสอบวิชาสามัญแล้ว โอเน็ตยากกว่าค่ะ อาจเป็นเพราะอย่างแรก เราคิดเยอะ เพราะโอเน็ตสอบได้ครั้งเดียว แล้วต้องเอาคะแนนไปยื่นแอดมิดชั่น อย่างที่สองไม่ได้ตั้งใจเตรียมตัวสอบอย่างเต็มที่ (ช่วงนั้นการบ้านเยอะมากค่ะ T T) แต่ว่าแนวข้อสอบออกมาแนวเดียวๆ กันอ่ะค่ะ ให้วิเคราะห์คล้ายๆ กัน แต่ช้อยส์งงกว่าเดิม อย่างที่สามคือ มี 5 ช้อยส์ค่ะ ...ตัดทีไรเหลือ 2 ข้อตลอด (แล้วก็ชอบตอบข้อที่ผิดด้วย TT) 

พี่แอนน์ : ความแตกต่างระหว่างข้อสอบเคลียริ่งเฮาส์กับโอเน็ตเป็นอย่างไรบ้าง 
ฝ้าย : ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ...ช้อยส์มี 5 ช้อยส์ค่ะ ต้องคิดเยอะกว่าเดิม คิดมากกว่าเดิม แต่ว่าถ้าถามแนวข้อสอบ ในความคิดหนูคือ ออกมาแนวคล้ายๆ กันค่ะ คือไม่ใช่เหมือนในด้านตัวข้อสอบ แต่เหมือนกันตรงที่มีพาร์ทวิเคราะห์ นับคำ โวหาร บทความ ประมาณนี้อ่ะค่ะ ข้อสอบโอเน็ต หนูคิดว่ามึนๆ กว่าวิชาสามัญอีกค่ะ หะหะ ^^ 

ฝ้าย5 ฝ้าย6
พี่แอนน์ : คิดว่าอะไรที่ทำให้เราเป็นเด็กเก่ง 
ฝ้าย : โห..คงไม่ถึงขนาดเก่งหรอกค่ะ ^^ เพราะว่าวิชาอื่นหนูก็สาหัสเอาการอยู่ >< แต่ถามว่าอะไรที่ทำให้เราสามารถลุยกับข้อสอบได้ แล้วได้คะแนนดีเนี่ย หนูคิดว่าอย่างแรกคือ สมาธิจดจ่อกับข้อสอบที่ทำ เพราะจะทำให้เราสามารถดึงความรู้ของเราออกมาได้ดีกว่านั่งยุกยิกไปมา อย่างที่สองคือตั้งใจทำ เพราะการตั้งใจเหมือนเราชนะตัวเอง และเป็นแรงผลักให้เราสามารถเอาชนะข้อสอบได้ อย่างที่สามคือถ้าหากคิดว่าเราไม่เก่ง เราต้องพยายามแก้ให้รู้ในส่วนที่ยังไม่รู้ แล้วทบทวนส่วนที่รู้ให้มันรู้แบบเข้าใจจะทำให้จำได้ อย่างสุดท้ายคือ อย่าเครียดกับมันมาก อาจเอาความเครียดมาเป็นแรงผลักตัวเอง แต่ไม่ต้องบ่อยมาก เพราะมันเป็นการกดดันตัวเอง สมองก็ทำงานหนักมากขึ้น ก็ทำข้อสอบไม่ได้อยู่ดี หาเวลาคลายเครียด ดูการ์ตูน เล่นคอม ให้หายเครียดแล้วค่อยไปอ่านหนังสือต่อดีกว่าค่ะ ^^ 

พี่แอนน์ : เด็กเรียนดีจำเป็นต้องขลุกอยู่กับตำราไหม 
ฝ้าย : ไม่จำเป็นค่ะ ! (มั่นใจมาก) อาจพกหนังสือเรียนไปไหนมาไหน นั่งอ่านบ้างระหว่างวัน ตามประสาเด็กขยัน ก็ไม่เสียหายอะไรค่ะ แต่ถ้าตื่นเช้ามายังไม่ทำอะไรก็กางตำรา กินข้าวก็กางตำรา เพื่อนชวนไปเล่นก็กางตำรา ชีวิตอยู่กับตำราเรียนตลอดเวลา นอกจากทำให้สุขภาพจิตแย่แล้ว ยังพลาดความสนุกในวัยเรียนที่เราคงหาไม่ได้อีกแล้วตลอดชีวิตนี้ 

พี่แอนน์ : ตอนนี้ติดที่ไหนบ้างหรือยัง 
ฝ้าย : ก็...ติด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ค่ะ (แอบติดสำรอง สถาปัตย์ฯ ม.เกษตรด้วย ^^)
 
ฝ้าย7
พี่แอนน์ : อยากเข้าเรียนคณะไหน/มหาวิทยาลัยใด เพราะอะไร 
ฝ้าย : ถ้าเป็นความฝันอันสูงสุด ขอยกให้สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ค่ะ ^^ แต่ว่าทั้งนี้ ถ้าไม่ได้ก็ไม่เครียดอะไรค่ะ ^^ ที่อยากเข้าคณะสถาปัตย์เพราะคิดว่าเป็นคณะที่ไม่ได้ไปทางวิทย์มาก แล้วก็ไม่ได้ไปทางศิลป์มาก แต่เป็นการนำเอาความรู้ของทั้งสองด้านมาประยุกต์ใช้ด้วยกันอย่างลงตัว (ง่ายๆ คือ ชอบที่มันครึ่งๆ กลางๆ อ่ะค่ะ) แล้วที่อยากเรียนที่ ม.เกษตร เพราะอย่างแรกคือคุณพ่อจบ ม.เกษตร ได้มาคลุกคลี และมีโอกาสได้เข้ามาเที่ยวเล่นใน ม.เกษตร ทำให้รู้สึกว่าอยากเรียน อย่างที่สองคือชอบแนวคิดของคณะที่เน้นไปที่การออกแบบลดโลกร้อนที่ตอนนี้ค่อนข้างเป็นปัญหาระดับโลก ทำให้เราได้คิดว่าเราจะมีการปรับปรุงสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมยังไง ให้เป็นมิตรกับทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เราจะปรับอะไรได้บ้างกับสภาพสถานการณ์แบบนี้ (จริงจังมาก) 

พี่แอนน์ : เวลาเรียนมีเครียดไหมและมีวิธีคลายเครียดอย่างไร 
ฝ้าย : มีแน่นอนค่ะ เป็นของคู่กันกับนักเรียนจริงๆ >< ถ้าคลายเครียดแบบเบาๆ ก็ปิดหนังสือ ออกมาเดินเล่น หรือฟังเพลงแล้ว ร้องคลอๆ ตาม พอหายปวดตาปวดหัว ก็ไปอ่านใหม่ แต่ถ้าแบบจัดเต็ม ก็เล่นเกม เปิดคอม หาอ่านอะไรที่สบายใจ ไม่ก็นอนหลับไปเลย แนะนำวิธีหลัง เพราะเวลาเราตื่นมา เหมือนได้รีเฟรชสมองใหม่ อ่านอะไรจะจำได้ง่ายขึ้นค่ะ ^^

ฝ้าย8
พี่แอนน์ : อยู่โรงเรียนมีกิจกรรมอะไรทำบ้าง 
ฝ้าย : อ่า.. ถ้าเล่นกับเพื่อนแบบคลายความเครียด ก็มีนั่งคุยกันค่ะ หลายๆ คนอาจคิดว่า แค่คุยกันจะได้อะไร แต่การได้คุยกับเพื่อน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั้งเรื่องมีสาระและไม่มีสาระ ทำให้เราลืมความเครียดได้เยอะจริงๆ บางวันอาจนึกแผลงๆ เอายางมากระโดดเล่น (ย้อนวันวาน) เอาไม้แบทมาตีที่โรงเรียน แต่ถ้าเป็นกิจกรรมโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมของห้องมากกว่าค่ะ เวลาเต้นก็เป็นห้อง เชียร์ก็เป็นห้อง ประมาณนี้ 

พี่แอนน์ : เวลาว่างทำอะไรบ้าง 
ฝ้าย : สำหรับหนูถ้าได้ว่างเป็นอันนอน >< (เป็นการตุนแรงทางอ้อม) บางครั้งก็นั่งเล่นคอม ทั้งเกม ทั้งเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ เล่นบอร์ดตามดาราที่ชอบ >< (ไร้สาระมากค่ะ) วันไหนว่างมากๆ ก็นั่งวาดรูปเล่น เล่นโฟโตชอป ประมาณนี้อ่ะค่ะ 

พี่แอนน์ : เคยมีไปแข่งขันงานวิชาการด้านภาษาไทยบ้างไหม 
ฝ้าย : เคยค่ะ แต่ว่าเป็นตั้งแต่สมัยอยู่ชั้นประถมแล้วค่ะ ได้รางวัลรองชนะเลิศระดับจังหวัดค่ะ ^^ 

พี่แอนน์ : เราได้อะไรจากการไปแข่งขันบ้าง 
ฝ้าย : อย่างแรก คือได้เพื่อน ไม่ใช่เราไปลอกเค้านะคะ แต่ว่าได้คุยกัน ได้แลกเปลี่ยนกัน อย่างที่สองคือได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าที่รู้มา จากการติวของคุณครู จากการคุยกับเพื่อนที่ได้ไปสอบด้วยกัน อย่างสุดท้ายคือ เป็นการปลูกฝังให้เราเป็นคนขยันที่อยากอ่านหนังสือ อดทนต่อความขี้เกียจจนถึงทุกวันนี้ เพราะการไปแข่งขัน เป็นการบังคับให้เราต้องกระตุ้นตัวเองตลอดเวลา ยิ่งมีเพื่อนไปแข่งด้วยกันแล้ว ยิ่งต้องเพิ่มพูนความรู้ให้ตัวเองมากขึ้น 

พี่แอนน์ : มีความเห็นอย่างไรบ้างกับระบบเอนทรานซ์ที่เปลี่ยนบ่อยๆ 
ฝ้าย : ตอนแรกรู้สึกงงมากกับระบบที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทำให้เราตามไม่ทัน ต่อมาเริ่มเครียดว่าเราลืมลงวิชาอะไรมั๊ยต้องใช้วิชานี้หรือป่าว แล้วเหนื่อยตรงที่ต้องอ่านหนังสือบ่อยๆ เพราะสอบติดๆ กัน ทั้งของ สทศ. และรับตรงของมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ว่าระยะหลังๆ มานี้ เริ่มปลงและปล่อยวาง ทำวันนี้ของเราให้ดีที่สุดเค้าเปลี่ยนก็เปลี่ยนไป เราปรับให้ทันตามเค้าก็โอเคค่ะ

ฝ้าย9
พี่แอนน์ : คิดอย่างไรกับระบบเคลียริ่งเฮาส์บ้าง 
ฝ้าย : ระบบนี้อาจก่อความสงสัย วิงเวียนศีรษะให้กับเด็ก ม.6 รุ่นนี้หลายๆ คน และหนูเป็นหนึ่งในนั้น แต่พอได้ทำความเข้าใจกับระบบผ่านอาจารย์แนะแนว ทำให้เข้าใจได้มากขึ้น และคิดว่าระบบนี้ มีผลดีเหมือนกัน คือเป็นการขยายโอกาสให้กับเด็ก ม.6 ที่แอดมิดชั่น เพราะในปีก่อนๆ เด็กที่ติดรับตรงก็ติดซะหลายที่ แล้วบางมหาวิทยาลัยไม่ได้รับสำรองไว้ ทำให้เหมือนเป็นการกันที่คนอื่น ระบบเคลียริ่งเฮาส์จึงเป็นเหมือนเคลียร์บ้าน ให้รู้ว่า มีเด็กรับตรงเท่านี้ รับแอดอีกกี่คน อีกเท่าไหร่ ทำให้เด็กที่รอแอดมีโอกาสเพิ่มขึ้น แต่มีข้อเสียตรงที่ผู้จัดระบบ ไม่ได้อธิบายให้นักเรียนเข้าใจอย่างชัดเจน ทำให้เกิดความสับสนตามมา 

พี่แอนน์ : ในความคิดของฝ้ายอยากได้ระบบเอนทรานซ์แบบไหน เพราะอะไร 
ฝ้าย : สำหรับหนู อยากได้แบบผสมผสานกันค่ะ คือนำระบบเอนทรานซ์แบบเก่า ที่มีการสอบทั่วประเทศ 1 ครั้ง ออกข้อสอบแบบมีมาตรฐาน** และประกาศผลพร้อมกัน ทุกมหาวิทยาลัย เพราะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับคนที่มีงบประมาณไม่มากนัก และประหยัดค่าเดินทางในการไปสอบด้วย หลังจากประกาศผลแล้วต้องจัดการเคลียร์จำนวนคนที่สอบติดให้เรียบร้อย แล้วประกาศจำนวนที่นั่งที่เหลือ คนที่ไม่ติดรอสอบรอบแอดมิดชั่น (ข้อสอบต้องมีมาตรฐานเหมือนกัน) เลือกได้ 4 อันดับ และประกาศผลพร้อมกันอีกครั้ง (จุดเด่นคือ ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ลำบากผู้ปกครองมากเกินไป) **ข้อสอบแบบมีมาตรฐานคือ ไม่ยาก ไม่ง่าย คือคนที่อ่านมาและเข้าใจสามารถทำได้ ไม่ใช่ว่าอ่านหรือไม่อ่าน ก็มีค่าเท่ากันเหมือนปัจจุบัน** 

พี่แอนน์ : มีจุดมุ่งหมายในชิวิตอย่างไร 
ฝ้าย : จริงๆ อยากทำงานเป็นคนสร้างแอนิเมชั่นค่ะ >< ชอบอยู่กับคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าแบบง่ายๆ คือมีชีวิตที่อิสระ ไม่ต้องอยู่ใต้บังคับของผู้อื่น สามารถดูแลพ่อแม่ได้ แล้วก็ได้ทำงานที่เราชอบก็พอใจแล้วค่ะ ^^

ฝ้าย10
พี่แอนน์ : ฝ้ายคิดอย่างไรกับการเรียนกวดวิชา 
ฝ้าย : หลายๆ คนอาจคิดว่าสิ้นเปลือง แต่สำหรับหนู การเรียนกวดวิชาเป็นการสรุปความรู้ที่เป็นแบบเจาะมุ่งตรงในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย (แต่ที่โรงเรียนเรียนแบบเรื่อยๆ ให้จบตามหลักสูตร) มีทั้งเทคนิคการจำ ได้รู้แนวข้อสอบที่ออกบ่อยๆ มีคนแนะนำในการทำข้อสอบ ตรงไหนควรระวัง ตรงไหนควรจำ เราจะได้ไม่จำสะเปะสะปะ เราสามารถสร้างแมพปิ้งในหัวเราได้ว่าวิชานี้มีเรื่องนี้ มีสูตรอย่างนี้ มีเทคนิคอย่างนี้ ทำให้สัมฤทธิ์ผลในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย มีแนวโน้มที่ดีกว่าการเรียนแต่ในโรงเรียน 

พี่แอนน์ : ทำไมถึงตัดสินใจมาเรียนที่ดาว้องก์คะ 
ฝ้าย : จริงๆ ได้ยินชื่อดาว้องก์มานานแล้วค่ะ ตั้งแต่อยู่ ม.ต้น แต่ถ้าได้ศึกษาคอร์สได้ดูรายละเอียดจริงๆ ก็ช่วงประมาณวางแผนการเรียนพิเศษตอนช่วงซัมเมอร์ขึ้น ม.6 เพราะมีทั้งเพื่อนและรุ่นพี่แนะนำมา และที่เลือกเรียนเพราะคำแนะนำจากเพื่อนๆและรุ่นพี่อีกเช่นเคยค่ะ ทั้งดี สนุก แล้วมาคิดเองด้วยว่า สังคมและไทยถ้าหนูอ่านเองคงไม่รอดแน่ เพราะแค่เปิดหน้าแรกเหมือนโด๊ปยานอนหลับ และเนื้อหาของทั้งสองวิชาก็เยอะมาก และสรุปยากมาก จึงเลือกมาเรียนที่ดาว้องก์ค่ะ 

พี่แอนน์ : เรียนดาว้องก์คอร์สไหน/สาขาใด 
ฝ้าย : เรียนคอร์สอินเทนซิป ช่วงเดือนเมษา สาขานครราชสีมาค่ะ 

พี่แอนน์ : ได้อะไรจากดาว้องก์บ้างนอกจากความรู้ 
ฝ้าย : ได้ความเฮฮา แบบฮาท้องแข็ง ความสนุกก็ไม่แพ้กัน ในทุกๆ ครั้งที่อาจารย์ปิงเล่าเรื่อง เหมือนได้ไปเที่ยวกับอาจารย์ อาจารย์ปิงมักมีรูปจากที่ต่างๆ มาฝากเสมอ นอกจากนี้ยังได้เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ในการดำเนินชีวิต คำพูดของจารย์ปิงที่ติดหูเลยคือ “จำไว้นะคะ น้องหญิง น้องชาย…” มักขึ้นประโยคเวลาอาจารย์ปิงแนะนำสิ่งต่างๆ กับนักเรียน มิตรภาพเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ได้จากการเรียนดาว้องก์ ทั้งคนที่อยู่ในห้องสดที่อาจารย์มักชวนขึ้นมานั่งข้างๆ (ทำให้คนนั้นเป็นคนดังไปเลย >< ) และคนที่นั่งข้างๆ เราในห้องวิดีโอ ...ได้หลายอย่างจริงๆ ค่ะ คุ้มค่ะคุ้ม ><
ฝ้าย11
พี่แอนน์ : มีข้อแนะนำอะไรอยากฝากถึงน้องๆ รุ่นต่อไปในการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยบ้างคะ 
ฝ้าย : อยากให้น้องๆ มุ่งมั่น และตั้งเป้าหมายของน้องให้ดีๆ จับมันไว้ให้มั่น แล้วมุ่งไปหามันแบบทุ่มสุดตัว อาจมีเหนื่อย มีพัก มีแวะเดินเล่นบ้าง แต่เรายังคงจับเป้าหมายของเราไว้ โดยเฉพาะน้องๆ ที่ยังอยู่ ม.4 และ ม.5 น้องยังมีเวลาในการเริ่มต้นอ่านหนังสือ เริ่มต้นตอนนี้ยังไม่สายเกินไป ยิ่งน้องเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ น้องยิ่งมีเวลาพัก มีเวลาเดินเล่น ลั๊นลามากขึ้น แต่น้องที่ขึ้น ม.6 ก็ยังไม่สาย (เพราะตอนที่พี่เริ่ม ก็อยู่ในช่วงเดียวกับน้องนี่แหละ >< ) แค่ยึดเป้าหมายน้องไว้ ต่อให้ไฟลนก้น น้องต้องไม่ลนลาน น้องต้องมีสติเพื่อก้าวไปสู้จุดหมายต่อไป อาจารย์ปิงเคยบอกไว้ว่า “ม้าตีนปลายน่ะ น่ากลัว” นั่นคนเก่งไม่เท่าไหร่ ....คนขยันน่ะน่ากลัวกว่า เดินต่อไปให้ถึงจุดหมาย จับเอาไว้ให้ดีแล้วก็วิ่งไปหามัน ! 

พี่แอนน์ : อยากทราบเทคนิคในการอ่านหนังสือ 
ฝ้าย : สำหรับหนูคือ อ่านแล้วจด คืออ่านแล้วทำเป็นโน้ตย่อไว้ เพราะว่าหนูเป็นคนชอบจด ชอบวาดๆ เขียนๆ เวลากลับมาอ่านจะได้ไม่ต้องแบกตำราเล่มหนาออกมาอ่านให้เปลืองเวลา แต่ถ้าใครไม่ชอบจด ให้ทำโจทย์ไปเลย อาจอ่านทบทวนก่อนเล็กน้อย พอให้จำได้แล้วลุยโจทย์เต็มที่ (วิธีหลังประสิทธิภาพดีมาก) ตรงไหนไม่เข้าใจเปิดหนังสือดูให้เข้าใจ ตรงไหนเข้าใจแล้วให้ทบทวน ถ้าเหนื่อยก็พักบ้าง ยิ่งเราฝืนยิ่งเป็นโทษกับตัวเรา ดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีๆ เพราะถ้าเกิดไม่สบายขึ้นมาแล้ว จะเป็นปัญหาใหญ่มากในการอ่านหนังสือ เอาพอเบาๆ พอดีๆ แล้วก็จะดีเอง ^^ 

พี่แอนน์ : อยากให้ฝากเทคนิคที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียนถึงเพื่อนๆ และน้องๆ กันสักนิด 
ฝ้าย : จริงๆ หนูไม่ใช่คนเรียนเก่งอะไรมากมาย อาศัยว่าทบทวนบทเรียนก่อนสอบ จดโน้ตย่อเล็กน้อย แล้ววิ่งเข้าห้องสอบ ^^ แต่ถ้าในระยะยาว สิ่งแรกที่จำเป็นมากคือ ความขยัน ขยันทำงานส่งอาจารย์ ขยันมาโรงเรียน ขยันขวนขวายหาความรู้ ไม่ใช่ขวนขวายแบบน้ำไหลไฟดับนะคะ เอาแบบเบาๆ พอคลายความอยากรู้ หรือความสงสัยของเรา และนำไปใช้ได้เป็นพอค่ะ อย่างที่สองให้มีความร่าเริงสนุกสนานอยู่เสมอค่ะ การที่เราอยู่โรงเรียนเราจำเป็นต้องมีมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่น ถ้ามาโรงเรียนมานั่งปั้นหน้าเมื่อย นั่งเรียนๆ แล้วแบกกระเป๋ากลับบ้าน ถือว่าใช้ชีวิตในการเรียนไม่คุ้มนะคะ ความร่าเริงสนุกสนานยังทำให้เราคลายความเครียดจากการเรียนได้เป็นอย่างดีเลยนะคะ อย่างสุดท้ายคือ ตั้งใจค่ะ ตั้งใจที่จะทำเกรดให้ดี ตั้งใจที่จะสอบเข้าคณะที่อยากได้ แล้วความตั้งใจย่อมเป็นแรงผลักให้เราลุกเดินไปข้างหน้าได้อย่างไม่ย่อท้อเลยทีเดียว 

พี่แอนน์ : ฝากอะไรถึงอาจารย์ไหมคะ 
ฝ้าย : โห..ฝากถึงอาจารย์ปิง ฝากทั้งหน้ากระดาษก็คงไม่หมด >< (เว่อมาก) อยากให้อาจารย์ ดูแลสุขภาพ ดูแลตัวเองด้วยนะคะ (อาจารย์ไอบ่อย เพราะแอร์เข้าคอ อิอิ^^) อาจารย์ปิงเป็นอาจารย์ที่สร้างทัศนคติใหม่ในการเรียนของหนูเลย >< สั้นๆ เลยนะคะ “อาจารย์ปิงคือเบื้องหลังความสำเร็จของพวกหนูนะคะ” รักอาจารย์ปิงจัง >////< 

***ความตั้งใจย่อมเป็นแรงผลักให้เราลุกเดินไปข้างหน้าได้อย่างไม่ย่อท้อ*** 

 ฝ้าย12


 
 

loading
loading
เพิ่มในกระเป๋าแล้ว
×
ชื่อคอร์ส
ราคา บาท
พริ้ง
×
สวัสดีค่ะ มีข้อเสนอแนะหรือคำถาม ฝากส่งผ่าน "พริ้ง" ได้เลยนะคะ
ถาม "พริ้ง"
×