บทสัมภาษณ์คะแนนอันดับที่ 1 วิชาภาษาไทย (O-NET) ปี 2553
 18 กรกฎาคม 2562 13:45:23

แวว: แวววดี วีรกิตติ
(คะแนนอันดับ 1 O-NET วิชาภาษาไทย)

แวว5
***การเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นจุดจบของชีวิตถ้าเราทำไม่ได้***พี่แอนน์ : แนะนำตัวหน่อยค่ะ
น้องแวว: ชื่อ แวววดี วีรกิตติค่ะ ชื่อเล่นแววค่ะ

พี่แอนน์ :
 จบจากไหนคะ
น้องแวว: โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สายวิทย์คุณภาพค่ะ

พี่แอนน์ : วิทย์คุณภาพเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง 
น้องแวว: ประมาณสายสาธารณสุขค่ะ คล้ายๆ เตรียมหมอ แต่ก็มีวิชาพวกเกษตรให้เรียนด้วย

พี่แอนน์ : สายนี้เรียนหนักไหมคะ 
น้องแวว: ไม่หนักค่ะ ก็ลันล้าไปเรื่อยๆ ยกเว้นช่วงใกล้สอบค่ะ มันจะเครียดนิดหนึ่งเพราะว่าข้อสอบมันยากค่ะ

แวว4
พี่แอนน์ : เตรียมมีวิทย์ทั้งหมดกี่สาขา 
น้องแวว: วิทย์คณิต,วิทย์คอม, วิทย์ญี่ปุ่น, วิทย์ประยุกต์, วิทย์ฝรั่งเศส, วิทย์เยอรมัน, วิทย์บริหาร วิทย์สเปนเป็นวิทย์ใหม่ล่าสุด

พี่แอนน์ : แต่ละสาขาเน้นเรียนอะไรบ้าง 
น้องแวว: ทุกสาขาเรียนเหมือนกันหมด แต่ต่างกันตรงวิชาเลือกค่ะ คือสายวิทย์แยกเรียนตอน ม4 กับ ม.5 พอขึ้น ม.6 เรียนรวมกันหมดไม่ว่าเรียนวิทย์สาขาอะไรก็ตามก็เรียนรวมกันค่ะ

พี่แอนน์ :
 อย่างวิทย์ภาษาไม่ไปซ้ำซ้อนกับสายศิลป์-ภาษาหรือคะ 

น้องแวว: ไม่ค่ะ คือวิทย์ภาษามีเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และเรียนพื้นฐานภาษาไม่ได้เจาะลึกเหมือนสายศิลป์-ภาษา เพราะสายนี้เรียนเพื่อเตรียมพร้อมสอบเข้าอักษรไม่มีเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีวะค่ะ

พี่แอนน์ :
 พอขึ้นม.6 น้องแววมีการเตรียมตัวอย่างไรในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย 

น้องแวว: ตอนปิดเทอมใหญ่เรียนพิเศษเกือบทั้งวัน เรียนคณิต ฟิสิกส์ เคมีและชีวะ แต่ช่วงเย็นไม่เรียนเพื่อที่เอาเวลาไปทำการบ้าน เพราะการบ้านสำคัญมาก แต่เก็บดาว้องก์ไว้เรียนเทอม 1 ม. 6 คือเก็บเป็นเรื่องๆ ไปค่ะ หลังจากนั้นไม่เรียนแต่ใช้เวลาช่วงนั้นทบทวนเอง อย่างทำแบบฝึกหัดและข้อสอบเก่าหลายๆ พ.ศ.ค่ะ

พี่แอนน์ :
 อย่างนี้คือน้องแววรู้ว่าจบม. 6 เราจะเรียนต่ออะไรแล้วติดที่ไหนคะ 

น้องแวว: ติดหมอศิริราชค่ะ 

พี่แอนน์ :
 อยากเป็นหมอด้านไหน 

น้องแวว: ที่แน่ๆ ไม่เป็นหมอแบบนั่งโต๊ะ จ่ายยาหรือให้คำปรึกษาอย่างเดียว คืออยากลงมือทำด้วยอย่างหมอผ่าตัด หมอศัลยกรรมหรือหมออะไรก็ได้ที่ต้องลงมือทำค่ะ 

พี่แอนน์ :
 อุดมการณ์ในการเป็นหมอ 

น้องแวว: ช่วยเหลือคนให้มากที่สุด ทำยังไงก็ได้ให้คนไข้สบายที่สุด

พี่แอนน์ :
 เมื่อ 3 ปีที่แล้วมีข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์ในด้านลบประมาณว่าหมอทำคนไข้เสียชีวิตมันบั่นทอนความตั้งใจมั๊ย 

น้องแวว: บั่นทอนนิดหนึ่ง แต่ตอนนั้นเรายังไม่ได้อยู่ตรงนั้นยังมีเวลาเรียนรู้ว่าต้องทำยังไง เราเลือกได้ว่าจะเป็นหมอในแบบของเรา และในบางครั้งหมอก็ตั้งใจทำให้ดีที่สุดแล้วแต่ผลก็ไม่ได้ออกมาอย่างที่ตั้งใจค่ะ 

พี่แอนน์ :
 บางครั้งคนไข้ก็ตั้งความหวังไว้สูงน้องแววมีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง 

น้องแวว: คนไข้คาดหวังสูง คือเค้าไม่เข้าใจกฎของธรรมชาติของชีวิตที่ต้องมีการเจ็บป่วยและตาย หมอแค่ช่วยได้บางสิ่งในสิ่งที่ยังไม่ถึงเวลา อาจช่วยชะลออะไรบางอย่างได้แต่ยังไงก็หนีกฎของธรรมชาติไปไม่ได้เค้าต้องเข้าใจตรงนี้ ถ้าเจอคนไข้แบบนั้นเราต้องอธิบายให้เค้าเข้าใจก่อนที่จะเริ่มการรักษาว่าเราทำได้แค่นี้นะ อย่างคาดหวังมากเกินไปแต่ถ้าคนไข้หายก็เป็นความดีใจทั้งหมอและคนไข้ด้วยค่ะ

พี่แอนน์ :
 น้องแววคิดว่าหมอกับคนไข้ในยุคก่อนกับยุคปัจจุบันมีความคิดเห็นเหมือนกันไหม 

น้องแวว: ความคิดเปลี่ยนไป สังคมแต่ละสังคมก็เปลี่ยนไปตามเวลา เมื่อก่อนคนไข้เห็นหมอเป็นพระเจ้าช่วยชะลอกฎธรรมชาติได้ แต่ปัจจุบันหมอเหมือนคนทำงานที่จ้างมาให้การรักษาคนไข้ เพราะฉะนั้นเวลาหมอทำอะไรที่เค้าไม่พอใจเค้าสามารถฟ้องได้

พี่แอนน์ :
 หมอเป็นอาชีพที่ไม่ค่อยมีเวลาและเวลาส่วนตัวหายไปน้องแววมีการเตรียมตัวยังไง 

น้องแวว: หนูยังไม่ได้สัมผัสตรงนี้เคยยังไม่รู้ว่าจะเป็นยังไง แต่ได้เตรียมใจไว้ว่าต้องสละเวลาส่วนมากของชีวิตให้กับคนไข้เวลาส่วนตัวต้องหายไปค่ะ

แวว3
พี่แอนน์ :
 หมอเรียนทั้งหมดกี่ปีคะ 

น้องแวว: เรียน 6 ปี แต่ไม่ใช่เรียนอย่างเดียวต้องไปปฏิบัติงานด้วยที่เรียกว่าแพทย์ฝึกหัด เราเรียนทฤษฎี 5 ปี พอปี 6 ต้องไปเป็นแพทย์ฝึกหัดค่ะ 

พี่แอนน์ :
 แพทย์ศิริราชเรียนหนักไหมถ้าเทียบกับแพทย์ที่อื่น 

น้องแวว: เห็นบอกว่าปี 1 เรียนหนักกว่าที่อื่น มหิดลปี 1 ก็ขึ้นชื่อเรียนหนักเพราะต้องไปเรียนที่ศาลายา แล้วอัดวิชาการทุกอย่างซึ่งบางวิชาหมอไม่ค่อยได้ใช้ค่ะ แต่เค้าต้องการให้เรารู้รอบด้านเพื่อนำไปใช้และใช้ในงานวิจัยด้วย แต่ที่อื่นก็หนักเหมือนกันทุกที่ค่ะ

พี่แอนน์ :
 ตอนเรียนม.ปลายมีทำกิจกรรมอะไรบ้างไหน 

น้องแวว: ตอนม.6 ไม่ค่อยได้เข้าร่วมกิจกรรมค่ะ เก็บตัวอ่านหนังสือ แต่มีบ้างนิดหน่อย อย่างงานกีฬาสีของโรงเรียนค่ะ

พี่แอนน์ :
 มีเคล็ดลับในการเรียนอย่างไร 

น้องแวว: ไม่คิดว่ามีเคล็ดลับอะไร ก็เรียนๆ ไป แต่ช่วงใกล้สอบต้องการอ่านหนังสือเข้มข้นขึ้นค่ะ

พี่แอนน์ :
 อย่างภาษาไทยมีเคล็ดลับยังไงในการเรียน ยิ่งคนไม่ชอบจะทำยังไง 

น้องแวว: แต่ก่อนหนูไม่ชอบภาษาไทย แต่มาเริ่มที่วรรณคดีไทยเริ่มในสิ่งที่เราชอบมากสุด ตั้งใจฟังเรื่องที่อาจารย์เล่าหรืออธิบายว่าตรงนี้แปลว่าอะไร มีความหมายยังไง แล้วได้มาเรียนดาว้องก์กับอ.ปิงสนุกแต่ได้เนื้อหาค่ะ ส่วนเรื่องหลักภาษาซึ่งไม่ชอบมากๆ แต่เรียนที่ดาว้องก์อ.ปิงมีเคล็ดลับว่าอย่างนี้ต้องดูยังไง มีทริคว่าข้อสอบแบบนี้ต้องตัดอะไร สนุกดี พวก ทริคโดยมากเป็นทริคตลกๆ ทำให้เราจำแม่นค่ะ และที่น่าเบืออีกอย่างคือภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ภาษาจรรโลใจ หรือมารยาทในการฟัง การพูด อ.ปิงย่อจากหนังสือมาให้เราอ่านก็โอเค ยังมีการเล่าและยกตัวอย่างแทรกจากไม่ชอบก็เป็นพอเรียนได้ พอมาต้องสอบก็โอเคไม่เป็นไร (หัวเราะ) 

พี่แอนน์ :
 ขนาดไม่ชอบแต่ได้คะแนนที่ 1 ประเทศ 

น้องแวว: อาจฟลุคค่ะ เพราะตอนสอบไม่ได้หวังอะไรเลยค่ะ อย่างข้อสอบภาษาไทยของแพทย์คะแนนไม่ได้ดีมาก ไม่รู้โอเน็ตได้ได้ยังไง แต่ภาษาไทยของแพทย์ยากกว่า โอเน็ตปีนี้ไม่ยากเท่าไหร่ค่ะ

พี่แอนน์ :
 น้องแววทำข้อสอบย้อนหลังคิดว่าปีไหนยากสุด 

น้องแวว: 2 ปีที่แล้วยากสุด ปีก่อนหน้าไม่ยากมากโอเคทำได้ แต่ปีหลังทำแล้วหน้าบึ้ง ทำไมถึงผิดเยอะผิดระนาวเลย ต้องมานั่งดูว่าผิดตรงไหนทำไมถึงผิดค่ะ

พี่แอนน์ :
 การทำข้อสอบเก่าช่วยน้องแววมากน้อยแค่ไหน 

น้องแวว: ทำให้เรารู้แนวว่าเรื่องนี้ชอบออกอะไร หยิบตรงไหนมาออก ทำให้มีประสบการณ์ ในการทำข้อสอบยิ่งตรงไหนที่เราทำผิดเราสามารถรู้ได้และคอยระวังไม่ให้ผิดอีกค่ะ

พี่แอนน์ :
 การทำข้อสอบภาษาไทยกับสังคมเหมือนกันไหม 

น้องแวว: ไม่เหมือนค่ะ ทำภาษาไทยสบายใจกว่า แต่สังคมมีวิเคราะห์ มีรายละเอียดปลีกย่อยที่หยิบเอามาถาม เราจำไม่ได้ทุกทีต้องเดา บางทีไม่ไหวต้องเปิดหนังสือทำค่ะ
แวว2

พี่แอนน์ : อย่างนี้มีคำแนะนำน้องๆ ในการทำข้อสอบยังไง 
น้องแวว: ขั้นแรกให้ตั้งใจเรียนในห้อง (สำคัญใช่มั๊ยเรื่องนี้) ค่ะ การตั้งใจเรียนในห้องเหมือนให้ผ่านสมองเราไปรอบหนึ่งก่อน จากนั้นค่อยมาอ่านทบทวน เพราะได้ผ่านสมองเรามาแล้วรอบหนึ่งเราต้องจำอะไรได้บ้าง เราก็มาทำข้อสอบแล้วดูว่าตรงไหนที่เราผิดเยอะเราก็ดูตรงนั้นให้ถ่องแท้ และตะลุยทำโจทย์หลายๆ ปี พอใกล้สอบให้อ่านที่เราย่อเองหรือที่อ.ปิงย่อให้ หนูคิดว่าหนังสือดาว้องก์ย่อดีแล้วอย่างอินเทนซีป เราอ่านพวกนั้นอีกรอบหนึ่งก่อนสอบ คิดว่าพอแล้วค่ะ

พี่แอนน์ :
 ถ้าน้องแววสามารถเลือกข้อสอบเองได้คิดว่าข้อสอบแบบไหนเหมาะกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย 

น้องแวว: น่าจะเป็นข้อสอบที่ใช้ความคิดและทักษะการวิเคราะห์มากกว่าข้อสอบความจำค่ะ เพราะว่าจริงๆ แล้วภาษาไทยต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ฉะนั้นเราควรใช้ข้อสอบแบบนี้ฝึกเด็กเพื่อที่ให้เด็กสามารถนำที่เรียนไปใช้ได้มากกว่าพวกความจำ การจำเราจำได้ช่วงระยะหนึ่งที่สอบ พอสอบเสร็จแล้วเรามักลืมมันไม่มีประโยชน์ ไม่เหมือนพวกใช้ความคิดหรือวิเคราะห์จะดีกว่าค่ะ

พี่แอนน์ :
 ข้อสอบปีนี้ความยาก-ง่ายเป็นยังไงบ้าง 

น้องแวว: ยากปานกลาง ไม่ได้ยากมากไม่มีความกดดันเท่าไหร่ เพราะว่าข้อสอบภาษาไทย หนูทำข้อสอบ 4-5 ปีย้อนหลัง และข้อสอบไม่ได้เปลี่ยนแนวการตอบเท่าไหร่ ทำแบบอารมณ์ดีและสบายใจ ทำข้อสอบได้เยอะพอสมควรมากกว่าที่ตั้งใจและคาดหวังไว้ค่ะ

พี่แอนน์ :
 ตอนสอบคิดไหมว่าเราจะได้คะแนนเป็นที่ 1 ของประเทศ 

น้องแวว: ไม่ได้หวังค่ะ หนูทำข้อสอบแบบสบายใจไม่ได้คิดอะไร แต่สังคมทำแล้วเครียดกว่าเยอะค่ะ
แวว1
พี่แอนน์ :
 ปัจจุบันมีการสอบหลายครั้งถ้าเทียบกับสมัยก่อนที่สอบครั้งเดียวน้องแววคิดว่าอย่างไหนดีกว่าและเหมาะกับเด็กในปัจจุบัน 
น้องแวว: หนูคิดว่าสอบแบบครั้งเดียวน่าจะดีกว่า เพราะว่ามันเท่าเทียมกัน ครั้งเดียวข้อสอบเดียวกัน เวลายื่นคะแนนดูจากครั้งนั้นครั้งเดียวเลย มันยุติธรรมดี แต่ปัจจุบันมาตรฐานข้อสอบความยาก-ง่ายไม่เท่ากัน เด็กเครียดสอบทีต้องเรียนพิเศษทีสรุปเด็กเครียดทั้งปี แต่ถ้าเป็นการสอบครั้งเดียวเราอาจเรียนพิเศษแต่ต้นปีหลังจากนั้นทบทวนเองในกรณีที่อยากเรียน แต่การเรียนพิเศษไม่จำเป็นกับทุกคนค่ะ

พี่แอนน์ : การสอบแก็ตมีความจำเป็นไหมที่ต้องสอบถึง 4 ครั้ง 
น้องแวว: ไม่จำเป็นค่ะ แต่หลายคนคิดว่าไปสอบเพื่อดูแนวโน้มข้อสอบอาจได้เปรียบกว่า แต่จริงๆ แล้วมาตรฐานข้อสอบไม่เท่ากันทำให้ไม่รู้ว่าครั้งไหนยากครั้งไหนง่ายค่ะ สทศ.บอกว่าไม่ต้องสมัครทุกครั้งแต่ใครจะฟังเค้ามีสอบก็สมัครทุกครั้งเพื่อเอาคะแนนที่ดีที่สุดใช่ป่าวค่ะ

พี่แอนน์ :
 น้องแววเรียนดาว้องก์สาขาไหนคะ 

น้องแวว: สาขาเซ็นจูรี่ค่ะ

พี่แอนน์ :
 คอร์สอะไรค่ะ 

น้องแวว: เมื่อก่อนเรียนสยามตอนนั้นยังรวมอยู่กับอ.ชัชชัยอยู่ค่ะ เรียนม.4 เทอม1 แล้วมาเรียนเซ็นจูรี่ม.5 เทอม 1 และอินเทนซีป เรียนเทอมเว้นเทอม ที่ไม่ได้เรียนทุกเทอมเพราะต้องเรียนวิชาอื่นด้วยค่ะ

พี่แอนน์ :
 น้องแววมีไอดอลในเรื่องเรียนไหมคะอย่างการที่อยากเรียนหมอ 

น้องแวว: อาจเป็นเพราะว่าเห็นรุ่นพี่ คุณปู่ คุณย่าเป็นหมอและมีรุ่นพี่มาเล่าประสบการณ์ให้ฟัง ตอนนั้นเรียน ม .4 อาจารย์ได้พารุ่นพี่ที่เรียนหมอมาเล่าให้ฟังถึงการเรียนหมอและอาจารย์ได้พาไปดูงานตามมหาวิทยาลัยต่าง เช่น จุฬาฯ, ศิริราช หนูประทับใจถึงจะเรียนหนักแต่คงสนุกดี เพราะเราได้เรียนรู้อะไรแปลกๆใหม่ และมีไปดูพิพิธภัณฑ์ ไปดูผ่าศพ ตอนแรกหนูกลัวแต่ก็น่าสนใจค่ะ

พี่แอนน์ : น้องแววคิดยังไงกับเด็กซิ่ว 
น้องแวว: ถ้าไม่ชอบควรเปลี่ยน อย่างตัวหนูเองยังไม่รู้ว่าอีก 2 ปีข้างหน้าไม่รู้จะยังไง ตอนนี้คิดว่าแน่ใจว่าเดินทางนี้โอเคสำหรับเรา เราควรลองทำก่อนอีก 2 ปีค่อยมาคิดใหม่ แต่คิดว่าถ้าถึงตอนนั้นไม่น่าเบนเข็มกลับอุตส่าห์ เดินมาตั้ง 2 ปีแล้วควรเดินหน้าต่อไปค่ะ

พี่แอนน์ :
 เวลาเครียดๆ มีการคลายเครียดยังไงบ้าง 

น้องแวว: วาดรูป อ่านการ์ตูน ดูหนัง ฟังเพลง เล่นดนตรี หรือเล่นเน็ต เหมือนเด็กวัยรุ่นทั่วๆ ไปค่ะ 

พี่แอนน์ :
 อยากฝากหรือแนะนำอะไรน้องๆ ไหมคะ 

น้องแวว: เมื่อก่อนพี่เคยเป็นน้องๆ ตอนนั้น อาจารย์บอกว่านี่เป็นปีสุดท้ายแล้ว มันกำหนดอนาคตและชีวิตเรา เราต้องขยันแบบหามรุ่งหามค่ำทำทุกอย่าง ขยันทำโจทย์ อ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียน วางแผนตั้งแต่ตอนนี้อย่าผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ และเรามีโอกาสทำน่าจะครั้งเดียว เพราะฉะนั้นต้องพยายามทำให้ดีที่สุด พอฟังแล้วรู้สึกเครียด แบบว่าต้องขนาดนั้นเลยหรือ เราทำเท่าไหร่ก็รู้สึกไม่พอ ยังไม่ถึงกับที่บอกมาที่จะทำให้ประสบความสำเร็จตามแบบที่พี่หวัง แต่จริงๆ แล้วเราไม่ต้องตั้งความหวังมาก ทำให้ดีที่สุดอ่านหนังสือก็อ่านไปเลยไม่ต้องรอว่าจะอ่านพรุ่งนี้ คิดได้ตอนไหนก็อ่านเลย และพักบ้างอย่าเครียดมาก เพราะว่าการเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นจุดจบของชีวิตถ้าเราทำไม่ได้ แต่มีโอกาสอย่างอื่นให้เราเลือกมากมาย แต่เมื่อเรามีโอกาสแล้วควรลองทำดูว่าเราทำได้หรือเปล่าและทำให้ดีที่สุด แล้วอย่าท้อถ้าเหนื่อยบ้างในบางครั้ง เราต้องทั้งความหวังไว้บ้างแล้วทำตามหวังนั้น การอ่านหนังสือถ้ายังหาแรงบันดาลใจไม่ได้ให้ดูเพื่อนๆ เห็นเค้าอ่านเราอาจเกิดอยากอ่านบ้าง ไม่อย่างนั้นเค้าไปอยู่ไหนเราจะไม่ได้ไปอยู่กับเค้าค่ะ (หัวเราะ)

loading
loading
เพิ่มในกระเป๋าแล้ว
×
ชื่อคอร์ส
ราคา บาท
Line OA @davance
ติดต่อพี่แอดมิน